หลายวันก่อนผมมีโอกาสได้นั่งคุยกับตัวเองจริงจัง
ว่าอยากแก้ไขปัญหาอะไรในประเทศนี้มากที่สุด?
ได้คำตอบว่า
ผมอยากจะสร้าง “โรงเรียน” ที่ช่วยให้เด็ก “ค้นพบตัวเอง”
เพราะการที่เด็กไม่รู้ว่า
- ตัวเองถนัดอะไร?
- อยากทำอะไรให้โลกใบนี้?
- โตขึ้นไปจะเป็นผู้ใหญ่แบบไหน?
- ไม่รู้กระทั่งว่า จะเอนทรานซ์เข้าคณะอะไร?
ผมว่ามันคือการศึกษาที่ล้มเหลวนะ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเราจะดึงปลาขึ้นมาจากน้ำแล้วยัดเยียดทักษะการปีนต้นไม้ให้มันตั้งแต่เล็ก ๆ แล้วทำให้มันเชื่อว่ามันเกิดมาเพื่อปีนต้นไม้ แล้วปลาตัวนั้นก็ฝึกฝนจนกลายเป็นปลาที่ปีนต้นไม้เก่งที่สุดในโลก แต่มันไม่เคยได้รู้เลยว่า มันมีความสุขกับการอยู่ในน้ำหรืออยู่บนต้นไม้กว่ากัน
ผลลัพธ์แรกของการศึกษา ผมอยากให้มันเป็นการทำให้แต่ละคนได้ค้นพบว่า ตนเองถนัดอะไร ที่ทำได้ดีและมีความสุขที่จะทำมัน แล้วค่อยเสริมสร้างทักษะในการใช้ชีวิตทางด้านนั้นให้กับเค้า มันถึงจะเป็นการศึกษาที่ “ใช้การได้” สำหรับผม
อันที่จริงผมก็พยายามแก้ต่างให้การศึกษาระบบเก่ามาตลอดนะ ว่าแม้เราจะไม่ได้ใช้ sine, cos, tan ในการซื้อส้มสักโล แต่มันก็ช่วยพัฒนารอยหยักในสมองเรา ช่วยพัฒนา logic และระบบการคิดของเราได้ ผมก็คิดบวกเป็นนะ เก่งด้วย จนกลายเป็นพวกโลกสวยสายลมแสงแดดอยู่ช่วงนึงเลย แต่หลังจบจากมหาลัยมา ผมก็พบว่าเรายังมีวิธีพัฒนารอยหยักที่ว่านั้นในอีกหลายรูปแบบเหลือเกิน บวกกับได้เห็นว่า ไอ่คนที่ได้รับการฝึกสมองมาแบบนั้นเหมือน ๆ กัน แตกแรงเป็น ดิฟ อินติเกรทเป็นหมด แต่ดันคิดไม่เป็น มีตรรกะที่ผิดเพี๊ยนบรรลัย ก็มีถมเถไปในสังคม
จนผมมาดู TED Talks เรื่อง Build a School in the Clouds ที่ Sugata Mitra กล่าวว่า ระบบการศึกษาปัจจุบันนั้นมันผิดตั้งแต่วัตถุประสงค์ เจตน์จำนงค์ของมันล้าหลังและไม่เหมาะกับโลกปัจจุบันมากขนาดไหน ผมนี่ดูคลิปไป ก็เต้นรอบห้องไป เพิ่งเข้าใจแนวคิดในการผลิตโรงเรียนสมัยก่อน เป็นวีดีโอที่โดนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้ผมอย่างมาก
และมันก็คงเป็นประโยชน์ของ social network ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้อย่างสวยงาม เพราะเมื่อผมโพสความตื่นเต้นของผมลงบน Facebook ได้ไม่นาน ก็มีพี่ท่านนึง invite ให้มาร่วมเสวนา “การจัดการศึกษาแบบก้าวหน้าแนว Agile เพื่อเพิ่มทางเลือกการศึกษาไทย” ดู
ผมเองเคยได้ยินแนวคิดเกี่ยวกับ Agile มานานแล้ว และพบว่ามันถูกจริตผมในหลายมิติ แต่ก็ยังไม่เคยได้ศึกษามันให้ชัดเจนว่าคืออะไรกันแน่ ผมเลยใช้เวลาไม่นานนักในการตอบตกลงร่วมเสวนานี้
สรุปสิ่งที่ได้จากงานเสวนา
- Agile (อไจล์) คืออะไร?
คือ แนวคิดในการอธิบายปรากฏการณ์เรียนรู้ของมนุษย์ในยุคใหม่ - อไจล์ จะอ่านว่า อะ-จาย, อะ-ไจ๊, อะ-จาว อะไรก็ได้ เอาตามที่พี่สบายใจ แต่รากศัพท์มาจากคำว่า Agility แปลว่าความคล่องตัว หมายความว่า ทำอย่างไรก็ได้ ให้มันคล่องตัวที่สุด และใช้การได้ โดยไม่ต้องยึดติดกับวิธีการ, เอกสาร, สัญญา หรือความเชื่อแบบตายตัวอื่น ๆ
- อไจล์ เกิดขึ้นจากวงการ Software Development โดยการนำปัญหาที่เกิดขึ้นเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จากทุกมุมโลกมาวิเคราะห์ เช่น การ waste เวลา, แรงงาน และงบประมาณ แต่สุดท้ายเมื่อ Software เสร็จสมบูรณ์ กลับไม่มีคนใช้งาน หรือไม่ได้ช่วยทำให้ผู้ใช้งาน มีชีวิตที่ง่ายขึ้น และหลังจากสร้างเป็นวิธีคิดแบบใหม่ เราพบว่ามันช่วยแก้ปัญหาได้ดีมาก ลดเวลา ลดแรงงานในการผลิต Software ไปได้เยอะมาก แต่กลับได้ Software ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนมีการนำแนวคิดของอไจล์ไปใช้ในด้านอื่น ๆ รวมถึงการศึกษา
- คนที่อยู่รอด ไม่ใช่คนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับตัวได้
- คำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์
เราให้ความสำคัญกับ
❤︎ คน และการมีปฏิสัมพันธ์ มากกว่าการทำตามขั้นตอนและเครื่องมือ
❤︎ Software ที่นำไปใช้งาน มากกว่าเอกสารที่สมบูรณ์
❤︎ การร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองให้เป็นไปตามสัญญา
❤︎ การตอบรับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าทำตามแผนที่วางไว้
- แม้เราจะเปลี่ยนมาโฟกัสที่ตัวหนาทางด้านซ้ายมากกว่า แต่เราก็ไม่ได้ทอดทิ้งจุดโฟกัสเดิมทางด้านขวาแต่อย่างใด เรายังคงต้องมีการ balance มันเหมือนกับการ balance ชีวิตไม่ให้ทำงานหนักเกินไปจนสุขภาพทรุดนั่นแหละ
- “You must unlearn what you have learnt.” – Master Yoda, Star Wars
ผมชอบ quote นี้มาก เพราะมันตรงกับแนวคิดที่ผมได้มาจากการศึกษา Landmark education ที่บอกว่าข้อจำกัดต่าง ๆ ในตัวเรานี่ ก็ล้วนมาจากสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาทั้งหมดนั่นแหละ ในด้านนึงสิ่งที่เราเรียนรู้มันสร้างผลลัพธ์ในชีวิตเรา ทำให้เราเก่งขึ้น แต่อีกด้านนึงมันก็สร้างข้อจำกัดให้เรา สร้างความเชื่อโดยอัตโนมัติว่า อะไรเป็นไปไม่ได้บ้าง … การที่เราจะทำความรู้จัก new education ได้นั้น เราต้องวางสิ่งที่เรา “รู้ดี” ลงเสียก่อน เพราะมันใช้กระบวนทัศน์คนละแบบกัน การวางกรอบความคิด อัตตา ที่อัดแน่นอยู่เต็มหัวเราลงเสียก่อน ข้อจำกัดทางความคิดเราจะได้หายไปด้วย เราจึงจะมีที่ว่างพอจะสร้างสิ่งที่เดิมทีเป็นไปไม่ได้ ให้เกิดขึ้นได้ - โลกเข้าสู่ยุคที่คนจะเป็นอะไรก็ได้ แค่ google เค้าก็สามารถเริ่มกระบวนการเรียนรู้ได้แล้ว การศีกษาในยุคใหม่ เป็นการสอนให้เด็กสามารถสอนตัวเองได้ ครูจะทำการสอนเหมือนไม่ได้สอน แค่แนะนำเท่านั้น (TNT – Teach by Not Teaching)
- แต่การจะทำแบบนั้นได้ ครูต้องเชื่อก่อน ว่าเด็กสามารถ จากนั้นก็ส่งมอบความเชื่อนั้นให้กับตัวเด็ก ดังนั้น คนเป็นครูก็สำคัญมากสำหรับ new education เราต้องการครูเก่ง ๆ แต่คนที่เรียนรู้มาก ก็มาพร้อมกับอัตตา พร้อมกับข้อจำกัดที่พร้อมจะตัดสินผู้คนจากประสบการณ์อันสูงส่งของตนตลอดเวลาเช่นกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก สำหรับมนุษย์ ที่จะไม่ตัดสินผู้คน (เพราะเราทำเช่นนั้นตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ก็ตาม ไม่เชื่อลองฟังเสียงในหัวคุณดูดี ๆ สิ มันไม่ได้มีแค่เสียงที่คุณอ่านตัวหนังสือที่ผมเขียนหรอก)
- การศึกษาในยุคใหม่ ไม่ได้มองนักเรียนเป็น PEOPLE อีกต่อไป แต่มองเป็น INDIVIDUAL แต่ละคนมีความเป็นปัจเจก ซึ่งตรงกับความคิดของผม ที่มองว่าแต่ละคนมี “การเป็น (being)” เฉพาะทางของตัวเอง จึงไม่ใช่การโยนคนจำนวนมากเข้าไปในกล่องใบหนึ่งที่เรียนเหมือน ๆ กัน แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกันทั้งหมดได้ ส่วนใครไม่ได้ผลลัพธ์ก็โยนให้เป็นความผิดของเขา เป็นมนุษย์เกรด D เกรด F อะไรก็แล้วแต่ที่ระบบการศึกษาจะตีตราให้ ทั้งที่แต่ละคนมีความยอดเยี่ยมในตัวเอง แต่การศึกษาดึงมันออกมาไม่ได้ต่างหาก
- วีดีโอนี้เป็นตัวอย่างของโรงเรียนทางเลือกที่นำเอาอไจล์ไปใช้จริง ๆ (Scrum คือ อไจล์ประเภทหนึ่ง / ถ้า อไจล์=มะม่วง Scrum=เขียวเสวย)
- คำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์ สำหรับการศึกษา
เราให้ความสำคัญกับ
❤︎ คน และการมีปฏิสัมพันธ์ มากกว่าการทำตามขั้นตอนและเครื่องมือ
❤︎Softwareความรู้ ที่นำไปใช้งาน มากกว่าเพียงเพื่อใช้สอบวัดผลเอกสารที่สมบูรณ์❤︎ การร่วมมือทำงานระหว่างผู้เกี่ยวข้อง
กับลูกค้ามากกว่าการต่อรองผลประโยชน์ให้เป็นไปตามสัญญา❤︎ การตอบรับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าทำตามแผนที่วางไว้
เสียดายที่ระยะเวลาสั้นไปนิด เพียงแค่ช่วงเช้าของวัน คงไม่สามารถลงลึกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงจริง ๆ ได้ แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของวงการศึกษาไทย และแอบเสียดายเล็ก ๆ ที่หลังจบงานไม่ได้สนทนากันต่อ แต่ก็ต้องขอบคุณ พี่ปอม Kulawat Pom Wongsaroj (CEO at Lean In Consultant) ที่ชวนมาและทำให้ผมได้รู้จักอไจล์เพิ่มขึ้น ขอบคุณ พี่กร Kamon Treetampinij (Consulting Agile Coach at Lean In Consultant) วิทยากรร่วม กับความรู้ที่แบ่งปันกันในวันนี้ และขอบคุณมหาลัยธุรกิจบัณฑิตที่จัดงานดี ๆ แบบนี้ขึ้นมาครับ
Believe that many people would want to have beautiful lips and has a lip color that definitely lasts on the lips We recommend a long-lasting lip mask that does not stick to the mask. Dip-dip style Maybelline’s super stay matte lip ( ลิปติดทน ) color that lasts up to 16 hours, no slippage, no worries about transferring, because the lip color won’t stick to glass, won’t stick, and won’t stick to the mask. #MASKPROOF and Guaranteed that #KISSPROOF kisses in any situation.