สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ร้านอาหารจะต้องเจอเป็นประจำนั่นก็คือ “ลูกค้าประจำ” บางคนสัปดาห์หนึ่งเจอหน้ากันตั้งหลายที เลยทำให้รู้จักมักจี่ คุ้นเคยกันอย่างดีไปโดยบริยาย แต่คำว่าลูกค้าประจำนี้ ก็ไม่ได้หมายถึง “ลูกค้าชั้นดี” เสมอไป เพราะบางทีลูกค้าแย่ ๆ เรื่องมาก ทิปห่วย ที่ติดใจจนมากินบ่อย ๆ ก็มีเหมือนกัน
และมันก็คงเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์เรา ที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ภาษาชาวบ้านเรียกเจ็บแล้วจำ พนักงานร้านอาหารบางคนจึงถึงกับออกอาการทุกครั้ง ที่ “ประสบการณ์” เก่า ๆ กำลังย้อนกลับมาทำร้าย อาทิเช่น
“เฮ้ย! พี่มืดทิป $1 วันก่อนมาอีกแล้ว”
“โอ้! วันนี้แขกนี่มาเร็ว อย่านั่งยาวจนปิดร้านเหมือนทุกทีนะมรึง”
“ไอ่หน้าหม้อทิปห่วยวันนี้มาโต๊ะใหญ่ชาร์จได้ ขอฟันให้เละสักที”
…
จึงไม่แปลกที่พนักงานเสิร์ฟบางคนที่นี่จะสีหน้าเปลี่ยนทันทีที่เห็นลูกค้าห่วย ๆ กลับเข้ามาอีกครั้ง และไม่ค่อยเข้าไปบริการมากเท่าไรนัก เพราะรู้อยู่แล้วว่าพี่คนนี้แกจ่ายทิปห่วย ต่างกับลูกค้าดี ๆ ที่กลับเข้ามาอีก ที่ทำให้รู้สึกอยากบริการจนแทบจะเคี้ยวข้าวให้กันเลยทีเดียว
…
ในประเด็นนี้ Delivery เองก็ไม่ต่างจากในร้านสักเท่าไรนัก เมื่อลูกค้าที่เคยให้ทิปห่วยแตก สั่งเข้ามาอีก ก็อาจจะไม่ค่อยอยากไปส่งขึ้นมาทันทีที่เห็นชื่อ ผิดกับลูกค้าที่ให้ทิปดีมาก ๆ ต่อให้อยู่ไกลก็อยากจะไปส่ง อยากไปให้เร็ว อยากจะให้บริการที่ดีที่สุด ให้สมกับที่เค้ามีน้ำใจให้กับคนบริการเช่นเรา
…
นั่นอาจจะเป็นความจริงที่ปฎิเสธได้ยากในวงการร้านอาหารไทยในอเมริกาที่ผมสัมผัสมา แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไป ผมก็ได้เรียนรู้บางอย่างเพิ่มเติมที่ทำให้ความจริงที่ว่านั่นเปลี่ยนไปนิดหน่อย เพราะผมเป็นคนที่ไม่ชอบพฤติกรรมชักสีหน้าของคนที่ทำงาน “บริการ” สักเท่าไร
ตอนผมประมาณ ม. 6 เคยเจอกระเป๋ารถเมล์สาย ปอ. 18 ชักสีหน้าใส่เพราะเจอแบงค์ร้อยจากผม ตอนนั้นผมคิดว่า หน้าที่ทอนเงินมันก็เป็นของกระเป๋าอยู่แล้ว พี่ไม่มีทอนเป็นความผิดของพี่ที่ไม่เตรียมเงินทอน ไม่ใช่ความผิดของผ้โดยสารที่ไม่รู้จักเตรียมค่าโดยสารให้พอดี ถ้าพี่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้จนแสดงพฤติกรรมที่น่าเกลียดแบบนี้ใส่ลูกค้า พี่อย่าทำงานบริการดีกว่ามั้ย?
เมื่อมาอยู่ในสายงานบริการเสียเอง ก็เลยไม่เคยทำแบบนั้นสักครั้ง ไม่ว่าลูกค้าแม่มจะให้ทิปห่วยยังไง หรือจะเรื่องมากแค่ไหน มันก็จะเจอยิ้มสยามจากผมสู้กลับไปตลอดเวลา
…
ทัศนคติแบบนี้ มันอาจจะเป็นเพียงการมองโลกในแง่ดี คิดบวก แต่มันทำให้เรามีความสุขได้แม้เจอลูกค้าที่ห่วยแตก และผมก็ได้พิสูจน์มาแล้วกับตัวเองว่าผลลัพธ์ของมันก็คุ้มค่า ลูกค้า Delivery ที่เคยให้ทิปห่วย ๆ พอผมไปส่งบ่อย ๆ เข้า ได้พูดคุยกันบ้างเป็นบางครั้งจนสนิทกันมากขึ้น แกก็เริ่มให้ทิปมากขึ้นกว่าเดิม มีบ้างบางคนที่ไม่เคยยิ้มหรือหัวเราะเลย ไม่ว่าผมจะยิ้มไปขนาดไหน ยิงมุขอะไรก็ไม่เคยเล่นด้วยเลย พอเริ่มคุ้นเคยกัน ผมก็เริ่มเห็นรอยยิ้มจากพี่แกบ้าง และในบางวันที่ฝนตกหนัก หรือ อากาศหนาวมาก ๆ ก็ได้คำขอบคุณจากแก “Thank you for coming”
…
ลูกค้าร้ายมา เราร้ายกลับ
การโต้ตอบไปในสิ่งเดียวกันที่ถูกกระทำมา มันทำได้ง่ายครับ ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่การส่งรอยยิ้ม น้ำใจ ความประทับใจกลับไปยังคนที่ทำให้เรารู้สึกแย่ จนสามารถเปลี่ยนให้เค้าเหล่านั้นคล้อยตามเราได้ต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า
…
ความสวยงามของจิตใจคนที่เราไม่เคยคาดคิดว่าจะได้รับนั่นแหละครับ ทำให้โลกที่กำลังแย่สุดขีด กลับสวยงามขึ้นมาได้อย่างเฉียบพลัน ลองคิดดูเล่น ๆ ก็ได้ครับว่า หากคุณขับรถไม่ระวัง จนไปชนรถคันอื่นเสียหาย แต่คำแรกที่คู่กรณีเดินออกจากรถมาถามเราคือ “พี่ปลอดภัยหรือเปล่าครับ?” โลกมันจะสวยงามเพียงไหน?
…
มาหยิบยื่นความสวยงามให้คนอื่นกันเถอะครับ แม้เราจะต้องเป็นส่วนน้อยของประชากรโลกที่ทำเช่นนั้น แม้เราจะไม่ได้รับความสวยงามเหล่านั้นกลับมาในวันนี้ แต่ผมก็ไม่คิดว่า น้ำน้อยนี้ … จะแพ้ไฟ!
M�kemmel Bir Uygulama ger�ekten