เนื่องจากโดรนเป็นพาหนะที่บินขึ้นไปในอากาศ เหนือหัวผู้คน รถยนต์ ตึกรามบ้านช่องมากมาย หากมีความผิดพลาดขึ้น มันก็จะตกลงมาตามแรงดึงดูดโลก และอาจโขกกับสิ่งเหล่านั้นได้ ไม่เหมือนรถบังคับ ที่แค่ถ้ามีปัญหาก็แค่ดับ แล้วจอดนิ่งอยู่ตรงนั้น
ผมระวังในเรื่องนี้มาก เพราะตั้งแต่โดรนราคาถูกลงจนกำเนิดสโลแกน “ใคร ๆ ก็บินได้” ขึ้นมานี่ มือใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ ขาดประสบการณ์การบิน สามารถแกะกล่องโดรนแล้วเอาเครื่องขึ้นได้ทันที ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็ดีไป แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกลางอากาศขึ้นมา เช่น ต้านลมไม่ไหว บังคับหลงทิศ สัญญาณขาด บลา ๆ ส่วนใหญ่ก็จะ panic ตกใจ ทำอะไรไม่ถูก แล้วก็ตกในที่สุด ถ้าสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ก็อาจเป็นข่าวทำให้วงการมัลติโรเตอร์ในไทยสั่นคลอน อาจจะโดนกฎหมายห้ามบินได้ ผมเลยพยายามที่จะไม่เป็นมือใหม่ที่สร้างอันนั้นให้เกิดขึ้น
นอกจากความเสียหายต่อผู้อื่นแล้ว ความเสียหายต่อเงินในกระเป๋าเราเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้ว เงินครึ่งแสนของเราอาจจะลอยหายวับไปในอากาศภายในเวลาไม่กี่นาที ผมจึงศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดมาก และพบว่า 90% ของการตกนั้นเกิดขึ้นจาก Pilot Error ส่วน 10% ที่เหลือ เป็นความผิดพลาดจากอุปกรณ์จริง ๆ ข่าวดีก็คือ Pilot Error นี้สามารถป้องกันได้ด้วยการทำ Pre Flight Check (เดี๋ยวเขียนแยกเป็นอันถัดไปฮะ) เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมก่อนบิน ซึ่งถ้าทำครบทุกครั้งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ของเราไม่มีความผิดปกติ ก่อนขึ้นบินครับ
RTFM
แต่ก่อนจะไป Pre Flight Check หรือทำสิ่งอื่นใดนั้น ผมขอแนะนำให้ทุกท่าน RTFM หรือ Read The Fucking Manual กันเป็นอย่างแรกครับ ในคู่มือการใช้งานอุปกรณ์ทุกประเภท นอกจากวิธีการใช้งาน วิธีการดูแลรักษาแล้ว มักจะมี tip & trick เพื่อความปลอดภัยอยู่ในคู่มือเสมอ ๆ ผมเห็นหลายครั้งมาก ไม่ว่าจะเป็น LINE group หรือ facebook group จะมีคำถามเบสิค ที่มันถูกตอบอยู่เรียบร้อยแล้วในคู่มือการใช้งาน มาถามไถ่กันอยู่บ่อย ๆ บางอันมันคือความรู้พื้นฐาน ที่ผู้ใช้งาน “ต้อง” รู้ เลยนะครับ ไม่ใช่แค่ “ควร” รู้ แต่ข้อมูลสำคัญเหล่านี้กลับถูกละเลย ไม่เห็นความสำคัญกันเท่าที่ควร
สำหรับคู่มือกระดาษ ที่มาในกล่องพร้อมกับตัวลำ Phantom 3 นั้นเป็นเพียง quick start guide นะครับ แนะนำให้ download คู่มือการใช้งานฉบับเต็มจาก DJI website หรือ ใน DJI Pilot App ครับ โดยส่วนหลัก ๆ ที่ผมว่าควรศึกษาก็มีดังนี้
- Aircraft – อวัยวะต่าง ๆ ของนกของเรานั้น (ฝรั่งเค้าชอบเรียกตัวลำว่า bird) มีอะไรบ้าง ช่องไหน รูไหน ไว้เสียบอะไร เราจะได้ไม่เอาอุปกรณ์อื่นไปเสียบผิด รวมไปจนถึงไฟบอกสถานะ ในรูปแบบต่าง ๆ มันหมายถึงอะไร เราจะได้เข้าใจภาษาน้องนกได้ครับ ว่าตอนไหนเค้าอยากจะบอกอะไรเรา โดยเฉพาะตอนที่มีอาการผิดปกติ เราจะได้เข้าใจและแก้ไขได้ถูกอาการ
- Remote Controller – แน่นอน ถ้าไม่ศึกษาอันนี้ให้ดี ก็บังคับไม่เป็น ตรงไหนควบคุมอะไร เดินหน้าถอยหลัง บินขึ้นลง ก้มกล้อง เงยกล้อง หรือการสั่งให้ตัวลำกลับมายังจุด take off หรือยกเลิกโหมด RTH (Return Home) ทำอย่างไร ในนี้มีบอกหมดครับ
- Camera and Gimbal – เราพาน้องนกบินขึ้นไป ก็เพราะอยากเห็นภาพในมุมสูง แต่เราจะได้ภาพแบบไหน ก็ต้องรู้จักว่ากล้องมันเป็นแบบไหน มีคุณสมบัติอย่างไร ข้อจำกัดคืออะไร ก้มเงย ได้กี่องศา มีโหมดควบคุมกล้อง 2 แบบ Follow = กล้องไม่เอียงตามลำเวลาเลี้ยว กับ FPV (กล้องเอียงตามตัวลำ เหมือนเรานั่งอยู่ในลำด้วย) รวมถึงไฟสถานะของตัวกล้องแบบต่าง ๆ มันบอกว่ากล้องกำลังทำอะไรอยู่บ้าง
- DJI Pilot App – ศึกษาค่าต่าง ๆ บนหน้าจอแอพให้ดีครับ ว่ามันบอกอะไรเราบ้าง สำคัญทุกอันเลยนะครับ รวมไปจนถึงเราตั้งค่าตัวลำหรือกล้องอย่างไรได้บ้าง ทุกอย่างควบคุมได้จากแอพนี้ครับ
เมื่อศึกษาคู่มืออย่างดีแล้ว ก่อนจะไปฝึกบินนั้น ผมมีประเด็นที่กังวลมาก ๆ อยู่อันนึงคือ Fail Safe bug ของ Phantom 3 ครับ
ภายใน 2 สัปดาห์แรก ที่ Phantom 3 ออกมานั้น เริ่มเห็นเคสฝรั่งที่ fly away แล้ว 1-2 ราย คือการที่สัญญาณหลุด จอดับ แล้วเครื่องไม่กลับมาอีกเลย เหมือนโหมด RTH (Return Home) ไม่ทำงานครับ (อาการนี้มีชื่อเล่นว่า กลับจีน) ซึ่งฝรั่งที่รายงานเคสนี้ใน DJI Forum นั้น บินแบบ FPV คือมองจออย่างเดียว เนื่องจากไปไกลจนลับตา มองไม่เห็นตัวลำแล้ว ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น จะสังเกตอาการจากตัวลำไม่ได้
จริง ๆ พวก new launched innovation หรือ สินค้าโมเดลใหม่ generationใหม่นี่ เรามีความเสี่ยงที่จะเจอข้อผิดพลาดจากการหลุด QC ได้สูงครับ ผมว่ามันก็แลกกันนะ กับการเป็น user กลุ่มแรก ได้ใช้ของใหม่ก่อนคนอื่น กับความเสี่ยงที่จะเจอ bug ที่หลุดการทดสอบ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่บริษัทแหละครับ ว่าจะทำการ QC ได้ดีขนาดไหน และเมื่อเจอ bug แล้วก็รีบ report DJI ว่ากันไปตามเรื่องครับ ถ้าตรวจสอบชัดเจนแล้วว่าเป็นเพราะ hardware defect บริษัทก็อาจมีการเรียกคืน เหมือนอย่างรถหลาย ๆ รุ่นที่ถูกเรียกคืนด่วน หรือถ้าเป็นแค่ software bug อีกสักพักก็จะมี firmware update ออกมาแก้ไข ซึ่งอันนั้นก็เป็นเรื่องของอนาคต ต้องรอดูกันต่อไป
แต่ ณ ปัจจุบัน สิ่งที่ผมทำได้เลยก็คือ ผมขอนำเครื่องไปเทสในที่โล่ง ๆ ก่อนเป็นอันดับแรก ว่าระบบ Fail Safe ของลำผมนั้นทำงานได้ไหม มัน RTH กลับมาได้ถูกต้องไหม ผมจะยังไม่บินใช้งานจนกว่าจะมั่นใจว่าลำของผมไม่มี bug ครับ
ผมไปทำการทดสอบที่ทุ่งโล่ง ซ.กรุงเทพกรีฑา ตั้งความสูงในการ RTH ไว้ที่ 60M การทำงานของมันจะดูว่า ณ ขณะที่โหมด RTH ทำงานนั้น ตัวลำอยู่ที่ความสูงเท่าไร
- ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ > ทำการบินขึ้นในแนวดิ่งให้ถึงความสูงที่กำหนดก่อน เพื่อหลบสิ่งที่อาจจะกีดขวางให้พ้น แล้วจึงบินกลับบ้าน
- สูงกว่าที่ตั้งไว้ > บินกลับบ้านเลย
แถวนี้เป็นทุ่งโล่งไม่มีตึกสูง แค่ 20 เมตรก็พ้นยอดไม้หมดแล้ว แต่ผมกันเหนียวไว้ที่ 60 เมตร แล้วเริ่มทำการบินทดสอบครับ
1. บินที่ความสูง 100M ไปที่ระยะ 1 km เริ่มมองไม่เห็นตัวลำตั้งแต่ 500M ละครับ บอกตรง ๆ ว่าเสียวมาก มองจากจออย่างเดียว เมื่อทำใจได้แล้ว เช็ดเหงื่อออกจากนิ้วโป้งมือขวา แล้วกดปุ่ม RTH ที่รีโมท มายเบิร์ดบินกลับมาเป็นเส้นตรง ถึงจุด take off ก็หยุด แล้วลดระดับดิ่งตรงลงมานิ่ง ๆ มีลองกดคันโยกดันขึ้นบ้าง เพื่อเทส Smart RTH ว่าสามารถควบคุมตัวลำได้แม้ในขณะ RTH ก็สนุกดีครับ เหมือนชักเย่อเลย โดรนมันจะลง เราก็ต้านขึ้น ฮ่า (จะบังคับขยับซ้ายขวาได้หมดครับ) สุดท้ายเครื่องลงจอดเรียบร้อยที่จุดเดิม
2. เอาขึ้นอีกรอบ ทดสอบการหลุดสัญญาณ ด้วยการปิด remote controller ขณะบิน บอกตรง ๆ ว่าอันนี้เสียวกว่าอันที่แล้วมากครับ กลัวปิดรีโมทแล้วมันเพี๊ยน บินแบบบ้าคลั่งหายไปเลย จึงเอาแบบใกล้ ๆ ลอยตัวที่ความสูง 5M ที่ระยะ 100M ยังไม่พ้นระยะสายตาพอครับ พอ turn off ปุ๊ป ตัวเครื่องชู๊ตขึ้นไปที่ความสูงประมาณ 60M ตามที่ตั้งไว้ครับ จากนั้นบินมาหยุด ที่จุด take off แบบแม่นมาก ๆ ลงจอดอย่างนิ่มนวล ที่จุดเดิมเป๊ะ ๆ คลาดเคลื่อนไม่เกิน 30cm
3. ทดสอบ cancel โหมด RTH โดยการสั่ง RTH แล้วพอเครื่องบินมาใกล้ ๆ สั่งยกเลิกโดยกดปุ่ม RTH อีกครั้ง เครื่องก็หยุดนิ่งบนอากาศเฉย ๆ รอให้เราบังคับเอง
…
ผลจากการทดสอบหลายรอบ พบว่าทุก function ทำงานได้ดี และทึ่งมาก ๆ ที่มันสามารถบินกลับมาจอดยังจุดที่ขึ้นได้แบบคลาดเคลื่อนน้อยมาก ๆ เชื่อมั่นในทุกระบบของเครื่องตัวเองแล้วครับตอนนี้ พร้อมลุยออกไปฝึกถ่าย scene ต่าง ๆ ตามที่เราวาดไว้ในใจละครับ
ก็ฝากไว้สำหรับชาว Phantom 3 นะครับ ทดสอบให้มั่นใจว่าเครื่องของเราไม่มี bug ก่อนไปบินในจุดที่ไม่ใช่ที่โล่งกันนะครับ ถึงแม้โอกาสซวยนั้นอาจจะเป็นแค่ 1 ใน 1,000 แต่เอาให้สบายใจก่อนดีกว่าครับ ถ้าไปใช้งานจริงแล้วมันดัน fly away นี่ อย่างน้อยเราจะมี flight log ไปยันกับ DJI ได้ด้วยว่า นักบินไม่ได้ประมาทนะ เราเคยทำการ test fail safe มาก่อนแล้ว ว่าของเราไม่มี bug นะเฟร้ย
รบกวรถามหน่อยครับ ซื้อ phantom3 มาได้2วัน บินไปชนต้นไม้แล้วตกลงสระน้ำ ประมาน 1ชม ถึงงมมาได้(น้ำจืด )ตอนนี้แบตเดี้ยงสนิทแล้ว แต่ ก่อนหน้านี้สั่งแบตมาเพิ่ม1ก้อน อยากทราบว่าเราลองเอาแบตมาใส่ดูได้ไหมครับ ว่าโดรนเรามันยังไม่เดี้ยง( เพราะตั้งห้าหกวันกว่าจะเข้า กทมไปศูนย์ รุ้สึกจิตตกครับ).
ปล.หลังงม เอาไดร์เป่าแห้งหมดแล้วนะครับ
ผมไม่ใช่ช่างนะครับ แต่ความเห็นผม เสี่ยงมากครับ กลัวว่าจะช๊อตเพิ่มแล้วเจ๊งหนักขึ้นน่ะครับ ผมว่าคงสภาพมันไว้แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญกู้ชีพมันอย่างถูกวิธีดีกว่าครับ
ผมเข้าใจอารมณ์นะ ช่วงได้มาใหม่ ๆ ผมก็อยากเล่นทุกวัน แต่อย่าใจร้อนดีกว่าครับ ให้ผู้เชี่ยวชาญคอนเฟิร์มว่ามันไม่เป็นไร แล้วค่อยกลับมาบินอีกครั้งดีกว่าฮะ
รบกวนสอบถามครับพี่ กรณีกดปิดรีโมท ถ้าบินระยะทางไม่เกิน 20 เมตร มันจะ landing ตรงนั้นหรือว่า return home จุดที่ขึ้นครับ ขอบคุณครับ
ตามความเข้าใจ มันน่าจะเป็นตามที่ตั้งค่าไว้ครับ ว่าถ้า lost signal แล้วให้ตัวลำทำอย่างไร แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้ามันใกล้กับ home point มาก ๆ มันจะ landing เลยไหม คงต้องลองไปเทสดูฮะ
ขอบคุณครับ ไม่เกิน 20 เมตร แลนดิ้งเลย เกิน 20 rth ผมทดสอบเองแล้วครับ มือสั่นเลย
슬롯머신 Hey are using WordPress for your blog platform? I’m new to
the blog world but I’m trying to get started and create my own. Do you need any coding knowledge to make your own blog?
Any help would be greatly appreciated!
파친코Thank you for some other informative blog. The place else could I get that kind of info written in such a perfect means?
I’ve a project that I am just now running on, and
I have been at the glance out for such information.